- กรอกรายละเอียดกิจการของผู้ใช้โปรแกรม
- VDO สอนอัพเดทและแปลงข้อมูลของโปรแกรมรุ่น 194
- ดาวน์โหลดโปรแกรม (อัพเดทรองรับประกาศฉบับ 194-197)
- ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Express (e-Book)
- วิดีโอ(Youtube) สอนการใช้งานโปรแกรมบัญชี Express
- ExpressBI ตัวช่วยสร้างกราฟด้วย Power BI Desktop
- การขอเคลมสิทธิ์การติดตั้งโปรแกรมบัญชี Express
- สื่อการเรียนรู้ออนไลน์
- เทคนิคการใช้งานโปรแกรม
- จองอบรมการใช้โปรแกรม Express
- จองอบรมการสร้างงบการเงิน
- เงื่อนไขการอัพเดทโปรแกรมบัญชี Express
- การนำส่งงบฯ ทางอินเทอร์เน็ต (DBD e-Filing)
- วีดีโอสาธิตโปรแกรม
- ปฏิทินวันหยุดของบริษัท
หน้าแรก >เทคนิคการใช้งานโปรแกรม>เคล็ดไม่ลับ กับการใช้งานโปรแกรมเอ็กซ์เพรส>ไวรัสเรียกค่าไถ่ Ransomware ติดแล้วไฟล์ข้อมูลเสียหายทั้งหมดแน่นอน
ไวรัสเรียกค่าไถ่ Ransomware ติดแล้วไฟล์ข้อมูลเสียหายทั้งหมดแน่นอน
ไวรัสเรียกค่าไถ่ Ransomware ติดแล้วไฟล์ข้อมูลเสียหายทั้งหมดแน่นอน
กลับมาระบาดกันอีกครั้ง ซึ่งจะว่าไปแล้วไวรัสตัวนี้ก็ไม่ได้หายไปไหนครับ ยังมีพบกันอยู่เรื่อยๆ แต่อาจจะมีชื่อเสียง(ชื่อเสีย) ในช่วงที่เรานักบัญชีจำเป็นที่จะต้องใช้งานข้อมูลกันมากขึ้น อย่างการปิดบัญชีประจำปี ซึ่งหากใครติดเจ้าไวรัสตัวนี้แล้ว และไม่เคยได้สำรองมูลสำรองเอาไว้ หรือสำรองเอาไว้นานแล้ว เป็นข้อมูลที่ไม่อัพเดท ก็เหมือนพบฝันร้ายอย่างที่สุดครับ เพราะเมื่อติดแล้ว โอกาสจะกู้ข้อมูลกลับมาได้นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากเป็นไฟล์ชนิดยอดนิยมอย่าง Excel เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมา ก็จะพบว่าข้อมูลกลายเป็นขยะ อ่านไม่รู้เรื่องไปทั้งหมด หรือหากเป็นไฟล์ข้อมูลของ Express เอง คุณจะพบกับ Error -200 ซึ่งหมายถึงไฟล์ข้อมูลนั้นเสียหายใช้งานอีกไม่ได้
ไวรัสเหล่านี้ติดเข้ามาในเครื่องเราทางช่องทางไหน
สาเหตุหลักเลยคือการดาวน์โหลดไฟล์ตัวนี้เข้ามาในเครื่องโดยตัวคุณเอง โดยจะมาในรูปแบบของอีเมล์ที่หลอกให้คุณเปิดไฟล์ที่แนบมาด้วย โดยแฝงหรือปลอมแปลงว่าเป็นอีเมล์ของคนที่รู้จัก อ้างว่าส่งหลักฐานการโอนเงินมาให้ หรืออ้างว่าส่งใบสั่งซื้อสินค้าจากทางบริษัทของคุณ เป็นต้น ซึ่งมีจุดที่พอสังเกตได้เกี่ยวกับไฟล์พวกนี้ คือมักจะถูกส่งมาในรูปแบบของไฟล์ .zip หรือไฟล์ .rar แทนที่จะเป็นไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ดังนั้นวิธีการป้องกันไวรัสตัวนี้ (หรือจะเป็นไวรัส มัลแวร์ตัวอื่นๆ ก็ตาม) คือ
1. คุณต้องมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสติดตั้งเอาไว้ในเครื่อง และต้องหมั่นอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสให้ล่าสุดอยู่เสมอ
2. มีนโยบายในการใช้งานอินเตอร์เน็ทอย่างเคร่งครัด ไม่ดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปชัดเจนอย่างเด็ดขาด
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราติดไวรัสประเภทนี้เข้าแล้ว
ลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ว่าคุณติดไวรัสประเภทนี้เข้าแล้ว คือ เมื่อไปดูในโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูลของคุณ คุณจะพบไฟล์แปลกปลอมเหล่านี้ โดยอาจจะมีแค่บางไฟล์ หรืออาจจะมาพร้อมกันทั้ง 4 ไฟล์
HELP_DECRYPT.HTML
HELP_DECRYPT.PNG
HELP_DECRYPT.TXT
HELP_DECRYPT.URL
และหากลองเปิดไฟล์ที่เป็น .HTML หรือ .PNG ขึ้นมา ก็จะพบกับรายละเอียดที่แจ้งว่าไฟล์ข้อมูลของคุณถูกเข้ารหัสเอาไว้แล้ว โดยขู่ว่าไม่มีทางที่ใครจะมาถอดรหัสเพื่อกู้ข้อมูลที่ติดไวรัสเหล่านี้ได้ พร้อมกับวิธีการจ่ายเงินค่าไถ่ (ประมาณ 1,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือกว่า 30,000 บาทขึ้นไป) เพื่อให้อาชญากรทางอินเตอร์เน็ทพวกนี้ส่งรหัสที่ใช้ในการถอดรหัสข้อมูลกลับมาให้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกนี้ทำได้ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้เข้ารหัสเอาไว้เอง
หรือหากคุณเจอปัญหาในลักษณะที่ว่าไฟล์ข้อมูลของ Express กลับมีนามสกุล (File Extention) หรือชนิดของไฟล์ (File Type) เปลี่ยนไป คล้ายๆ กับที่แสดงในรูปข้างล่างนี้ ก็เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากไวรัส Ransomware นี้เช่นเดียวกันครับ
ทำอย่างไรหากโปรแกรมบัญชี Express ติดไวรัสตัวนี้
เบื้องต้นเลยขอให้ติดต่อเข้ามาที่ฝ่ายบริการลูกค้าของ Express ก่อนนะครับที่โทร.02-217-3533 เพื่อตรวจสอบว่าติดไวรัสในส่วนใด เพราะหากติดที่ไฟล์โปรแกรม ก็ยังสามารถแก้ไขได้โดยกำจัดไวรัสในเครื่อง จากนั้นติดตั้งโปรแกรมบัญชี Express ทับเข้าไปใหม่ และโทร.เข้ามาลงทะเบียนโปรแกรมใหม่ แต่ทั้งนี้ขอให้ได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของ Express ก่อนปฏิบัตินะครับ
แต่หากไวรัสติดในส่วนของไฟล์ข้อมูล สิ่งที่พอทำได้ในการกู้ข้อมูลกลับมา นอกเหนือไปจากการยอมจ่ายค่าไถ่ให้กับอาชญากรทางอินเตอร์เน็ทเหล่านี้ ซึ่งก็คงมีแค่วิธีเดียวที่จะได้ผลมากที่สุด คือ หมั่นสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บเอาไว้ (จากเมนูอื่นๆ ข้อ 1.6 ในโปรแกรมบัญชี Express) โดยมีเทคนิคคือการแยกสำรองข้อมูลออกเป็นแต่ละวัน โดยใช้รูปแบบการตั้งชื่อไฟล์สำรองในโปรแกรม Express ที่จะแยกชื่อของไฟล์สำรองข้อมูลออกเป็นแต่ละวัน และระบุเวลาในการสำรองในชื่อไฟล์ด้วย เพราะนี่เป็นวิธีการกระจายความเสี่ยง หากเกิดว่าไฟล์ข้อมูลไฟล์ใดไฟล์หนึ่งติดไวรัส ก็ยังมีไฟล์ข้อมูลสำรองอื่นมาใช้งานแทนได้ นอกเหนือจากนั้นสื่อที่จะใช้บันทึกไฟล์สำรองข้อมูล ก็ควรจะเป็นสื่อที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานโปรแกรมบัญชี Express อยู่ เช่น สำรองข้อมูลเอาไว้เป็น Flash Drive , Thumb Drive หรือ External Harddisk เพื่อเป็นการป้องกันอีกขั้นหนึ่ง (และไม่ควรเสียบ Flash Drive ค้างเอาไว้ที่คอมพิวเตอร์ เพราะมีโอกาสติดไวรัสได้เช่นกัน) ซึ่งหากคอมพิวเตอร์เครื่องที่เราใช้งานติดไวรัส ก็ยังมีไฟล์สำรองข้อมูลให้นำกลับมาใช้งานได้ครับ และเพื่อการป้องกันที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก ก็ควรจะมี Flash Drive ในการสำรองเอาไว้อีกชุดหนึ่ง เพื่อสำรองข้อมูลทั้งหมดกลับไปไว้ที่บ้าน หรือสถานที่อื่น นอกจากเอาไว้ที่ทำงาน เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยนะครับ
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับบทความชิ้นนี้ กรุณาฝากคำถามไว้ที่ เว็บบอร์ด
ขอความกรุณาอย่าโทรศัพท์สอบถามจากพนักงานฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัท Express นะครับ
http://www.esg.co.th
express,account,software,เอ็กซ์เพรส,ระบบบัญชี,โปรแกรมบัญชี,ทำบัญชี,บัญชีสำเร็จรูป,บัญชีคอมพิวเตอร์
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การกระทบยอด ภงด50, ภ.พ.30
การปฏิบัติในกรณีรับเช็คชำระหนี้แล้วเช็คมีปัญหา
ตัวอย่างวิธีการนำ Express ไปใช้งานกับธุรกิจผลิต
ซ่อนระบบบัญชี Express จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
การบันทึกรับคืนหรือส่งคืนสินค้าที่ซื้อ/ขายในปีก่อน (ประมวลผลสิ้นปีไปแล้ว)
ใช้โปรแกรมมาหลายปี ไม่เคยปิดบัญชี ต้องทำอย่างไร
ทำไมพิมพ์แบบฟอร์ม เส้นตารางกลายเป็นตัวเลขไทย
Perpetual/Periodic , FIFO/Average เลือกใช้แบบไหนดี
ปีใหม่ทีไร วันที่ไม่อยู่ในงวดทุกที ?
ปรับขนาดตัวอักษรของ Express ให้อ่านง่ายขึ้น
วิธีการปิดประมวลผลสิ้นปีในโปรแกรม Express
วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ของโปรแกรม Express
วิธีการแปลงข้อมูลจาก Excel มาใช้ใน Express
การใช้เว็บบอร์ดสอบถามปัญหา Express
การใช้งาน Express กับงานบัญชีในโรงพยาบาล
วิธีแก้ไขข้อผิดพลาดจากการยื่นภาษีผ่าน Internet
วิธียื่นภาษีผ่าน Internet
ทำความเข้าใจกับวิธีกำหนดสิทธิการใช้งานในโปรแกรม Express
ป้อนวันที่รับของแยกตามรายการสินค้าในใบสั่งซื้อ (ใบสั่งขายก็ทำได้เช่นกัน)
ทำความเข้าใจวิธีลงบัญชีของ Express
พิมพ์งานจาก Express ออกทางเครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ
วิธีคำนวณต้นทุนในโปรแกรม Express
การรวมรายการของรหัสลูกค้า 2 รหัส ให้เป็นรหัสเดียว
จัดเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย-แยกข้อมูล
การนำรายงานจาก Express ไปใช้ใน Excel
ค้นหาเอกสารเพื่อตรวจทานได้ง่ายๆ
ปกป้องข้อมูลในโปรแกรม Express ให้ปลอดภัย